วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กาแฟอาราบิก้า และมะคาเดเมี่ย แบบประชาอาสาบ้านดงมะไฟ

          -การริเริ่ม  การปลูกกาแฟอาราบิก้าบ้านดงมะไฟครั้งแรก  ที่คุ้มส่องดาว
โดย นายนพดล ม่วงแก้ว ได้รับการสนับสนุนต้นพันธุ์ จากศูนย์วิจัยเกษตรที่สูง เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ จำนวน ๓๐๐ ต้น เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕
          - วิสาหกิจชุมชน กาแฟอาราบิก้าและมะคาเดเมีย แบบประชาอาสา บ้านดงมะไฟ พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยมี นายนพดล ม่วงแก้ว เป็นประธานฯ มีสมาชิกร่วมโครงการมากกว่า ๔๐ ครัวเรือน  มีพื้นที่การปลูก
กาแฟอาราบิก้า ประมาณ ๑๒๐ ไร่ ด้วยจำนวนต้นกาแฟ ไม่ต่ำกว่า ๔๕,๐๐๐ ต้น  และในปัจุบันสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว
          - บ้านดงมะไฟ เป็นแหล่งปลูกกาแฟอาราบิก้า สายพันธุ์ F-7 ที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ มากที่สุด
ด้วยระยะทางเพียง ๒๕๐ กิโลเมตร เท่านั้น ใช้ระยะเวลาการเดินทางไม่เกิน ๓ ชั่วโมงก็ถึงแล้ว
          - ความภาคภูมิใจ  กาแฟอาราบิก้าดงมะไฟ เป็นสินค้าชุมชนที่มีคุณภาพ ของจังหวัด นครราชสีมา ( โคราช ) มีรสชาติกลมกล่อม ในรูปแบบเฉพาะตามแหล่งถิ่นที่ปลูก  ด้วยความสูงพอเพียง ๔๐๐-๗๐๐ เมตร  เหนือระดับน้ำทะเล ผลิตด้วยกาแฟอาราบิก้าแท้ ๑๐๐%  ปลอดสารพิษ ( ORGANIC ) นับได้ว่าเป็นแหล่งที่ปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูป และลงบรรจุภัณฑ์ ในแหล่งผลิตเดียวกัน ( Roasted at the source )
          - นายนพดล ม่วงแก้ว ประธานฯ ได้ขนานนามหมู่บ้านดงมะไฟ ว่าเป็น แหล่งเพชรดำ และ ทองคำขาว  ( Land of Black Diamond and White Gold )  หมายถึง แหล่งที่ปลูกกาแฟอาราบิก้า และมะคาเดเมีย นั่นเอง  เพราะพืืชทั้ง ๒ ชนิด  มีศักยภาพสูง ด้วยกันทั้งคู่ ไม่ว่าจะคิดตามพื้นที่การปลูกไร่ ต่อ ไร่
เมื่อเทียบกับพืชอื่นๆ หรือคิดราคาตามน้ำหนักกิโลกรัม ต่อ กิโลกรัม เมื่อเทียบกับพืชอื่นๆ  ก็ยากนักที่จะหามาเปรียบเทียบได้
          - ขอเชิญ นมัสการไหว้พระ ๒๘ พระอรหันต์ และปฏิบัติธรรม ที่วัดป่าภูผาสูง  เที่ยวชมธรรมชาติที่บ้านดงมะไฟ สูดโอโซนบริสุทธิ์  เที่ยวชมสวนกาแฟอาราบิก้า และมะคาเดเมีย สัมผัสแหล่งเรียนรู้
การปลูกเกษตรที่สูง ที่คุ้มส่องดาว หมู่บ้านดงมะไฟ โดยสมาชิกเกษตรกร ได้น้อมนำหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และประพฤติ ปฏิบัติจริง ตาม แผนแม่บทชุมชน บัญญัติ ๑๐ ประการ หมู่บ้านดงมะไฟ


คำถาม         ปลูกกาแฟอาราบิก้า ที่หมู่บ้านดงมะไฟ ได้อะไร 

คำตอบ        นับเป็นการปลูกกาแฟ ที่ได้ผลมากกว่ากาแฟ
    
     ๑. เนื่องจากกาแฟเป็นพืชยืนต้น ให้ผลผลิตเร็ว และต่อเนื่อง ราคาผลผลิตของกาแฟอาราบิก้า
         ค่อนข้างสูง เป็นที่น่าพอใจ ดังนั้น ทำให้เกษตรกร สามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน
         และมีผลตอบแทนที่คุ้มค่ามากกว่าการลงทุน
     ๒. กาแฟเป็นพืชที่ต้องการใช้แรงงานในครัวเรือน ทำให้ทุกคนมีงานทำ และมีรายได้
          หากปลูกกาแฟ  เป็นจำนวนมาก จะมีการสร้างงาน และรายได้ให้กับชุมชน ในรูปแบบของสหกรณ์
          พึ่งตนเอง และ เศรษฐกิจพอเพียง
     ๓. เป็นรูปแบบของประชาอาสาตัวอย่างที่ดี สามารถลดงบประมาณของประเทศชาติได้อย่างมากมาย
     ๔. ได้ผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับแหล่งที่เป็นต้นน้ำลำธาร
          นอกจากนั้น  ยังเป็นป่าเศรษฐกิจทีสร้างงาน  สร้างรายได้ให้กับชุมชน และประเทศชาติ
     ๕. เป็นการทดแทนพระคุณต่อแผ่นดิน การอยู่อาศัยร่วมกันกับธรรมชาติแบบลงตัว ลดการไถพลิก
          หน้าดิน ลดการชะล้าง พังทลายของหน้าดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับระบบเชิงนิเวศน์
          สิ่งแวดล้อม และลดปัญหาไฟป่า ในเขตที่ปลูกกาแฟได้อย่างสิ้นเชิง
     ๖.  เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ แหล่งพัฒนาฝีมือแรงงาน  และแหล่งท่องเที่ยว  เชิงอนุรักษ์แบบยั่งยืน
     ๗. เป็นแหล่งปลูกกาแฟที่มีคุณภาพ สร้างรายได้ และชื่อเสียงให้กับชุมชน และประเทศชาติสืบไป
     ๘. เป็นแหล่งปลูกกาแฟอาราบิก้า  ที่อยู่ใกล้กรุงเทพมหานครมากที่สุด
     ๙. การเลือกปลูกกาแฟ สายพันธุ์อาราบิก้า เพราะขายได้ราคา  แต่ปัจจุบันประเทศไทย ยังปลูก
         กาแฟอาราบิก้าคุณภาพดี  ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด
 ๑๐.  การปลูกโดยใช้ระบบเกษตรอินทรีย์  ในสถานที่  ที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร จะไม่ทำให้มีสารพิษ
          ตกค้างให้กับสิ่งแวดล้อม  ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ และพื้นที่ข้างเคียง
 ๑๑.  เป็นการให้เกษตรกร ที่อาศัยอยู่หมู่บ้านดงมะไฟ ได้ปฏิบัติจริงตามแผนแม่บทชุมชน บัญญัติ ๑๐
          ประการ หมู่บ้านดงมะไฟ โดยพร้อมเพียงกันและไปในทิศทางเดียวกัน
 ๑๒.  เพื่อเป็นการสร้างความเสมอภาค ของเกษตรกร บ้านดงมะไฟ ที่หันมาปลูกกาแฟอาราบิก้า และ  
          มะคาเดเมียโดยเท่าเทียมกัน


สนใจ   การปลูกกาแฟอาราบิก้า และมะคาเดเมีย 
            ต้องการต้นพันธุ์ สายพันธุ์แท้ที่ได้รับการรับรอง และส่งเสริมให้ปลูก
            เยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้เกษตรที่สูง
โปรดติดต่อ
วิสาหกิจชุมชนกาแฟอาราาบิก้าและมะคาเดเมีย แบบประชาอาสาบ้านดงมะไฟ
๒๕๖  หมู่ ๘ คุ้มส่องดาว หมู่บ้านดงมะไฟ ต.มะเกลือใหม่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ๓๐๑๗๐
หมายเลขโทรศัพท์ ๐๔๔-๒๔๙-๔๙๙
                โทรสาร   ๐๒-๕๙๑-๐๐๓๓
ติดต่อ ประธานวิสาหกิจชุมชน ฯ    นาย นพดล  ม่วงแก้ว  ( COFFEE MAN )  ๐๘๒-๓๔๒-๑๑๒๒
e-mail :khumsongdao@yahoo.com
http://www.dongmafaicoffee.com/


**********************************************************************************
ข้อมูลเฉพาะถิ่นที่ปลูก
              
               พิธีรับขวัญแม่กาแฟ  เป็นพิธีปฏิบัติพื้นบ้าน  ซึ่งเริ่มทำเป็นแห่งแรกในประเทศไทย  ที่บ้านดงมะไฟ  ประมาณ  ปลายเดือนตุลาคม  จะเป็นช่วงการเก็บเกี่ยวกาแฟในรอบปีเสร็จสิ้นพอดี  ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าว  ต้นกาแฟจะอยู่ในสภาพพร้อมที่จะออกดอก  เพื่อให้ผลผลิตในรอบปีถัดไป  ดังนั้น  เกษตรกรจึงทำพิธีรับขวัญแม่กาแฟ  ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน  ของทุกปี

    
วัตถุประสงค์ของการจัดงาน

๑.  เพื่อเป็นการปฏิบัติสืบทอด พิธีรับขวัญแม่กาแฟ พิธีพื้นบ้านของหมู่บ้านดงมะไฟ
      นับเป็นแห่งแรก และ แห่งเดียวในประเทศไทย
๒.  เป็นการแสดงสำนึกดี ของเกษตรกรที่มีต่อต้นกาแฟ ในกรณีที่ต้นกาแฟ มีพระคุณอย่างใหญ่หลวง
      ต่อเกษตรกร และขณะนี้ ถึงเวลาอันสมควรที่เกษตรกร ควรจะแสดงการรู้คุณ และ จัดพิธีเพื่อทดแทน
      พระคุณของแม่กาแฟ ซึ่งมีความสำคัญ เปรียบเสมือนพระคุณของพระแม่โพสพ ในทำนองเดียวกัน
๓.  เป็นการยกย่อง ให้เกียรติ สร้างขวัญ และกำลังใจ ให้กับเกษตรกร ผู้ปลูกเกษตรที่สูง ให้มีปณิธาน     
      แน่วแน่ ในการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และ มีความสำนึกดี ในการทดแทนพระคุณของแผ่นดิน
๔.  เผยแพร่พิธีปฏิบัติแบบพื้นบ้านที่ดีของชุมชน สู่สาธารณะ


               ขอเชิญชวนผู้สนใจ  ร่วมพิธีมงคลดังกล่าวได้  และขอได้โปรดติดตามข่าวสาร  กำหนดการในปีต่อไปด้วย
                         
                                                                                           นายนพดล   ม่วงแก้ว
                                                                                       นายกาแฟ  COFFEE MAN

                                                  ******************************

              ปฏิทิน  กาแฟอาราบิก้า บ้านดงมะไฟ  โคราช 
              
               นับว่าเป็นบุญบันดาล  สวรรค์สร้าง  กาแฟอาราบิก้า บ้านดงมะไฟ  โคราช  ปลูกที่ระดับความสูง ๔๐๐ - ๗๐๐ เมตร  เหนือระดับน้ำทะเล  ซึ่งจัดเป็นระดับความสูง แบบพอเพียง  มีวงรอบการเจริญเติบโต  ให้ผลผลิตในแต่ละปี  สรุปได้ดังนี้


๑.  ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน  ของทุกปี  เกษตรกรพร้อมใจ  ทำพิธีรับขวัญแม่กาแฟ  หลังจาก
      นั้น ต้นกาแฟเริ่มผลิดอก
๒.  ประมาณช่วงวันพ่อแห่งชาติ  ดอกกาแฟที่บ้านดงมะไฟ  จะบานสะพรั่งพร้อมกัน  สีขาว  ส่งกลิ่นหอม
      แบบดอกไม้ป่า  มีฝูงผึ้งบินตอมอยู่โดยทั่วไป
๓.  หลังจากที่ดอกกาแฟบานแล้ว  ก็ร่วงโรย  กลีบดอกจะค่อยหลุดล่วงไป  คงเหลือแต่ส่วนที่จะเจริญเติบ
      โตต่อเป็นผลกาแฟ  ขนาดเท่าหัวเข็มหมุดโลหะ  จากนั้นต้นกาแฟก็เข้าสู่ฤดูแล้ง  ตั้งแต่เดือน
      มกราคม  ถึงเดือนเมษายน
๔.  ในเดือนพฤษภาคมเข้าสู่ฤดูฝน  เมื่อต้นกาแฟได้รับน้ำฝน  ก็จะทำให้ผลกาแฟเจริญเติบโตขึ้นตาม
      ลำดับ  โดยมีอัตราการติดผล  มากกว่า  ๙๕%  ผลกาแฟจะอยู่กับต้นนานประมาณ  ๘  เดือน
๕.  ประมาณช่วงวันแม่แห่งชาติ  ผลกาแฟจะสุกแดง  พร้อมที่จะถูกเก็บเกี่ยวไปจนถึงปลายเดือนตุลาคม


               นี่คือ ปฏิทินกาแฟอาราบิก้าบ้านดงมะไฟ  ที่มีรูปแบบเฉพาะตัวในรอบ ๑ ปี  ซึ่งเป็นไปตามระดับความสูงของภูมิประเทศที่ปลูก

               การปลูกดูแลอย่างเอาใจใส่  มีระบบการให้น้ำและปุ๋ยแบบพอเพียง  และถูกหลักวิชาการ  ยังส่งผลให้กาแฟอาราบิก้า  บ้านดงมะไฟ  ผลิดอก  ออกผลนอกฤดู  นับว่าเป็นธรรมชาติสรรค์สร้างของจริง  เพื่อต้อนรับทุกท่าน  ที่ไปเยี่ยมชมสวนกาแฟ  ได้เห็นดอกกาแฟสีขาว  ผลอ่อนสีเขียว  และผลสุกสีแดง  ตลอดทั้งปีอีกด้วย
 
               จากปัจจัยที่มีผลสนับสนุนในการเจริญเติบโตของต้นกาแฟเฉพาะถิ่น  ทำให้กาแฟอาราบิก้าดงมะไฟ  มีรสชาติกลมกล่อม  ในรูปแบบเฉพาะตัว  และยังมีปริมาณคาเฟอีนต่ำ เหมาะกับการบริโภค  โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบข้างเคียง  ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคโดยตรง

               นอกจากนั้น  กาแฟอาราบิก้า  ดงมะไฟ  ปลูกอยู่ในแหล่งต้นน้ำลำธาร  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องยืนหยัดแน่วแน่ในเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ ปลอดสารพิษ  ( ORGANIC )  และ เน้นเฉพาะกาแฟอาราบิก้าล้วน ( ๑๐๐% )  โดยปราศจากการปลอมปนจากกาแฟอื่นๆ  เพื่อนำพาไปสู่ความเป็นเลิศของผลิตภัณฑ์ชุมชนแห่งนี้  ตลอดไป


                                                                                       นายนพดล   ม่วงแก้ว
                                                                                   นายกาแฟ  COFFEE MAN



***********************************************************************************